วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิจัย

สรุปวิจัย


ชื่อวิจัย ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ชื่อผู้วิจัย ยุพาภรณ์ ชูสาย

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

นิยามศัพท์เฉพาะ 

     - การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ หมายถึง วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เรื่องสีจากพืช ผักและผลไม้ ที่อยู่รอบตัวเด็กหรือในชุมชน เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสแสดงความสามารถในการปฏิบัติและฝึกฝนกระบวนความคิด ค้นคว้า หาความรู้ และแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการทดลองสีจากธรรมชาติ

     - ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง การแสดงความสามารถของเด็กปฐมวัยในด้านการสังเกต การจำแนกเปรียบเทียบ การหามิติสัมพันธ์ และการลงความเห็นข้อมูล

ตัวแปรต้น กิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ

ตัวแปรตาม ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ตัวอย่างแผนการสอน

     หน่วย การเกิดสีจากดอกไม้

ชื่อกิจกรรม การขยี้,การขยำ

จุดประสงค์ 1. ส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
            ทักษะการสังเกต : ส่วนต่างๆของดอกไม้
            ทักษะการจำแนกประเภท : แยกประเภทของดอกไม้
            ทักษะการลงความเห็นข้อมูล : สรุปผลการทดลองได้
            ทักษะการหามิติสัมพันธ์ : บอกรูปร่าง รูปทรง และขนาดของดอกไม้
                                ชนิดต่างๆได้
         2. ส่งเสริมให้เด็กเล่าประสบการณ์เดิมของตนเอง
         
         3. แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการเรียนรู้
      
         4. เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ตรง

ขั้นนำ ครูนำดอกไม้สีต่างๆใส่ตะกร้า (ดอกกุหลาบสีแดง,ดอกกุหลาบสีชมพู,
ดอกอัญชัญ,ดอกชบาสีต่างๆ,ดอกดาวเรือง) มาให้เด็กดูและให้เด็กแต่ละคนหยิบดอกไม้คนละ 1 ดอก จากนั้นให้เด็กแยกกลุ่มตามสีของดอกไม้ที่เด็กเลือก

ขั้นสอน 1. ให้เด็กนั่งเป็นกลุ่มตามสีและประเภทของดอกไม้
      
       2. ครูถามเด็กแต่ละกลุ่มดังนี้ -เด็กๆรู้จักดอกไม้ที่ตนเลือกหรือไม่ -ดอกไม้มีสีอะไรบ้าง มีลักษณะอย่างไร -เด็กๆทดลองขยี้ดอกไม้ดูว่าเกิดอะไรขึ้น เด็กๆอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น

       3. ครูแจกกระดาษ A4 ให้เด็กคนละ 1 แผ่น และเด็กๆทดลองนำกลีบดอกกุหลาบ ดอกชบา ดอกอัญชัญ ดอกดาวเรือง มาขยี้แล้วนำไปทาบนกระดาษ และให้เด็กๆสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้นบนกระดาษ ครูกระตุ้นให้เด็กทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมและตอบคำถามร่วมกัน

       4. ครูและเด็กช่วยกันคิดว่า นอกจากการขยี้แล้ว เราจะทำอย่างไรให้ได้สีจากดอกไม้ได้อีกบ้าง ให้เด็กๆช่วยกันตอบ และให้ลองขยำ และลองให้เด็กๆทดลองให้เกิดสีตามที่เด็กช่วยกันคิด
  
       5. เมื่อเด็กๆทำกิจกรรมเสร็จแล้วให้แต่ละกลุ่มเก็บวัสดุอุปกรณ์ทุกอย่างเข้าที่

ขั้นสรุป 1. ครูให้เด็กๆออกมาอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นบนกระดาษของตนเองเกี่ยวกับสีที่ได้ให้เพื่อนๆฟังโดยตอบคำถามว่าสีที่ได้มาจากอะไร และใช้วิธีการอย่างไร

       2. เด็กและครูสรุปถึงสิ่งที่ได้ทดลองและให้เด็กแต่ละคนกลับไปคิดหาวิธีใหม่ที่ทำให้ได้สีจากดอกไม้ โดยไม่ซ้ำกับวิธีการเดิม เป็นการบ้านและให้เด็กนำดอกไม้มาในวันพรุ่งนี้คนละ 1 ดอก เพื่อทดลองการทำให้ได้สีจากดอกไม้ในวิธีอื่นๆ

สื่อ/อุปกรณ์ 1. กระดาษ A4  2. ดอกกุหลาบสีแดง  3. ดอกกุหลาบสีชมพู
4. ดอกอัญชัญ  5.ดอกชบาสีต่างๆ  6.ดอกดาวเรือง

การประเมินผล 1. ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมในขั้นดำเนินกิจกรรมจากการลงมือปฏิบัติกิจกรรมการ
                เรียนรู้

             2. สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม

             3. สังเกตการตอบคำถาม การสรุปผลการทดลองตามความเข้าใจของตนเอง
   


บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

การบันทึกอนุทิน


Science Experiences Management for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran
2 December 2014 ครั้งที่ 16 Group 103
Time 08:30 - 12:20




กิจกรรมที่ทำวันนี้ (Knowledge)

ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันทำสารสัมพันธ์บ้านโรงเรียนตามหน่วยของกลุ่ม
กลุ่มของฉัน หน่วย ไข่





เทคนิคการสอน

     วันนี้อาจารย์ใช้คำถามปลายเปิดเยอะ อาจารย์อยากให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม   เพื่อที่จะได้นำไปสอนเด็กได้อย่างถูกต้อง และจะได้มีประสบการณ์โดยตรง


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้ในอนาคต และสามารถประสานงานระหว่างที่บ้านกับโรงเรียนได้อย่างถูกต้อง

     
ประเมินตนเอง

     วันนี้ฉันแต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม


ประเมินเพื่อน

     เพื่อนแต่ละกลุ่มช่วยกันทำงานอย่างตั้งใจ แต่มีบางคนพูดคุยกันจนเสียงดัง


ประเมินอาจารย์

     อาจารย์ปล่อยให้นักศึกษาทำเอง ทำให้นักศึกษารู้จักการแก้ปัญหาได้ และให้คำแนะนำอย่างถูกต้องทำให้นักศึกษาเข้าใจยิ่งขึ้น






บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

การบันทึกอนุทิน


Science Experiences Management for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran
25 November 2014 ครั้งที่ 15 Group 103
Time 08:30 - 12:20




กิจกรรมที่ทำวันนี้ (Knowledge)

     วันนี้อาจารย์เริ่มที่ถามว่าแผนของแต่ละกลุ่มมีปัญหาอะไร ตรงไหนบ้าง แล้วก็ให้คำแนะนำ
สำหรับกลุ่มที่ยังมีข้อแก้ไข

     จากนั้นก็ได้ให้นักศึกษาออกมานำเสนอของเล่นของตนเองว่าจัดอยู่ในกลุ่มไหน สามารถจัดหมวดหมู่ได้ดังนี้



แล้วให้เพื่อนที่ยังไม่ได้นำเสนอบทความให้ออกไปพูดวิจัยและโทรทัศน์ครู ดังนี้




กิจกรรมทำหวานเย็น


สรุปกิจกรรมหวานเย็น
    
     การเปลี่ยนแปลงของน้ำหวาน จากของเหลวกลายเป็นของแข็ง โดยการใส่น้ำแข็งและเกลือลงไปแล้ว การที่เราใส่เกลือลงไปทำให้น้ำที่อยู่ในถุงด้านล่างมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ได้โดยไม่กลายเป็นน้ำแข็ง และนั่นก็ก็เพียงพอที่จะทำให้เราสามารถที่จะเขย่าถังเพื่อส่งความเย็นไปสู่น้ำที่อยู่ในถุงให้แข็งได้นั่นเอง



เทคนิคการสอน

     อาจารย์อยากให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม เพื่อที่จะได้นำไปสอนเด็กได้อย่างถูกต้อง
และจะได้มีประสบการณ์โดยตรง


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้ในอนาคต และรู้วิธีการทำหวานเย็นที่ถูก
วิธีและถูกสุขลักษณะ

     
ประเมินตนเอง

     วันนี้ฉันแต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม


ประเมินเพื่อน

     เพื่อนออกไปจำแนกของเล่นตนเองอย่างตั้งใจและทำหวานเย็นกันอย่างสนุกสนาน


ประเมินอาจารย์

     อาจารย์ปล่อยให้นักศึกษาทำเอง ทำให้นักศึกษารู้จักการแก้ปัญหาได้ และให้คำแนะนำอย่างถูกต้องทำให้นักศึกษาเข้าใจยิ่งขึ้น




วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

การบันทึกอนุทิน


Science Experiences Management for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran
19 November 2014 ครั้งที่ 14 Group 103
Time 13:00 - 16:40




กิจกรรมที่ทำวันนี้ (Knowledge)


     วันนี้อาจารย์ให้ทำวาฟเฟิล โดยอาจารย์มีอุปกรณ์มาให้ แล้วให้เพื่อนอีก 2 กลุ่มที่เหลือ
ออกมาสอบสอน

- การทำวาฟเฟิล







     จากนั้นเพื่อนอีก 2 กลุ่มก็ออกมาสอบสอน คือ กลุ่มหน่วยดิน และ กลุ่มหน่วยสับปะรด
แล้วจากนั้นก็มีเพื่อนออกไปนำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง ของเล่นของใช้




เทคนิคการสอน

     อาจารย์อยากให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม เพื่อที่จะได้นำไปสอนเด็กได้อย่างถูกต้อง
และจะได้มีประสบการณ์โดยตรง


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้ในอนาคต และรู้วิธีการทำวาฟเฟิลที่ถูก
วิธีและถูกสุขลักษณะ

     
ประเมินตนเอง

     วันนี้ฉันให้ความร่วมมือกับเพื่อนเวลาเพื่อนสอบสอน และตั้งใจทำวาฟเฟิลร่วมกับเพื่อนๆ


ประเมินเพื่อน

     เพื่อนร่วมกันทำวาฟเฟิลกันอย่างสนุกสนาน


ประเมินอาจารย์

     อาจารย์ปล่อยให้นักศึกษาทำเอง ทำให้นักศึกษารู้จักการแก้ปัญหาได้







วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

การบันทึกอนุทิน


Science Experiences Management for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran
11 November 2014 ครั้งที่ 13 Group 103
Time 08:30-12:20




กิจกรรมที่ทำวันนี้ (Knowledge)


     วันนี้เริ่มด้วยอาจารย์บอกให้สรุปวิจัยและโทรทัศน์ครูลงบล็อก และวสำหรับคนที่ยังไม่ได้
ออกไปอ่านบทความก็ให้สลับกันออกไปเล่าวิจัยและโทรทัศน์ครู จากนั้นก็ให้กลุ่มที่เหลือออกไป
สอบสอน ดังนี้

1. หน่วยสับปะรด (Pineapple)




2. หน่วยส้ม (Orange)




3. หน่วยทุเรียน (Durian)




4. หน่วยมด (Ant)




5. หน่วยน้ำ (Water)




6. หน่วยดิน (Soil)




จากนั้นกลุ่มฉันก็สาธิตการทำไข่หลุม


เทคนิคการสอน

     อาจารย์อยากให้ทุกคนเข้าใจในเรื่องแผนให้มากที่สุด จึงนำแผนของรุ่นพีมาให้ดู 
เพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้ในอนาคต และรู้วิธีการเขียนแผน
ที่ถูกต้อง

     
ประเมินตนเอง

     วันนี้ฉันให้ความร่วมมือกับเพื่อนเวลาเพื่อนสอบสอน


ประเมินเพื่อน

     เพื่อนเตรียมสื่อมานำเสนอเป็นอย่างดี


ประเมินอาจารย์

     อาจารย์มีการแนะนำการสอนที่ถูกต้อง






บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

การบันทึกอนุทิน


Science Experiences Management for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran
4 November 2014 ครั้งที่ 12 Group 103
Time 08:30-12:20




กิจกรรมที่ทำวันนี้ (Knowledge)


       วันนี้อาจารย์ได้อธิบายต่อจากครั้งที่แล้วเกี่ยวกับแผน และได้นำตัวอย่างแผนของรุ่นพี่มา
ให้ดูเป็นตัวย่าง ตามหัวข้อดังต่อไปนี้

1. กรอบมาตรฐาน
2. สาระที่ควรเรียนรู้
3. แนวคิด
4. เนื้อหา
5. ประสบการณ์สำคัญ
6. บูรณาการ
7. กิจกรรมหลัก
8. วัตถุประสงค์

       จากนั้นอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มออกมาสอบสอน โดยมีทั้งหมด 10 กลุ่ม แต่วันนี้
มีเพียง 4 
กลุ่มเท่านั้น คือ

1. หน่วยข้าว (Rice)




2. หน่วยไข่ (Egg)



3. หน่วยกล้วย (Banana)


4. หน่วยกบ (Frog)



ส่วนหน่วยที่เหลือสอนต่อสัปดาห์ต่อไป



เทคนิคการสอน

     อาจารย์อยากให้ทุกคนเข้าใจในเรื่องแผนให้มากที่สุด จึงนำแผนของรุ่นพีมาให้ดู 
เพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้ในอนาคต

     
ประเมินตนเอง

     วันนี้ฉันสอบสอนในหน่วยไข่ ในขั้นสอน ยังทำไม่ได้มากเท่าที่ควร


ประเมินเพื่อน

     เพื่อนไม่ค่อยเตรียมความพร้อมในการสอบสอน


ประเมินอาจารย์

     อาจารย์มีความพยายามในการสอนให้ทุกคนมีความเข้าใจ






วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

การบันทึกอนุทิน


Science Experiences Management for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran
28 october 2014 ครั้งที่ 11 Group 103
Time 08:30-12:20




กิจกรรมที่ทำวันนี้ (Knowledge)


กิจกรรมที่ 1

     อาจารย์ทดลองให้ดูโดยมีอุปกรณ์ ดังนี้ได้แก่ เทียนไข (Taper) ไม้ขีดไฟ (Match) แก้ว (Glass) และมีขั้นตอนดังต่อไปนี้


     จากการทำกิจกรรมสรุปได้ว่า : เมื่อนำแก้วมาครอบเทียนไขที่ติดไฟอยู่ เทียนไขค่อยๆดับลง 
เป็นเพราะว่าอากาศภายในแก้วทำให้เปลวเทียนดับ


กิจกรรมที่ 2

     อาจารย์แจกกระดาษ (Paper) มาให้แล้วพับครึ่งดังภาพ แล้วก็ฉีกออกให้เหมือนดอกไม้
แล้วก็พับเข้าหากัน จากนั้นก็ให้นำไปลอยน้ำ แล้วสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น


     จากการทำกิจกรรมสรุปได้ว่า : กระดาษที่พับไว้เมื่อลอยน้ำจะค่อยๆบานออกมาทีละกลีบ
เป็นเพราะว่าเมื่อกระดาษเปียกน้ำก็จะค่อยๆคลายออก


กิจกรรมที่ 3 

     อาจารย์ให้ช่วยกันนวดดินน้ำมัน (Clay)ให้นิ่มแล้วแบ่งกันคนละก้อนจากนั้นให้เอามาใส่ลงในน้ำดังรูป




     จากการทำกิจกรรมสรุปได้ว่า : เมื่อปล่อยดินน้ำมันลงน้ำดินน้ำมันก็จมน้ำทันที เป็นเพราะ
ดินน้ำมันมีมวลสารจึงทำให้จมน้ำ


กิจกรรมที่ 4 

     อาจารย์ให้นักศึกษาลองทำด้วยตนเอง โดยที่ให้เอาขวดน้ำไว้บนโต๊ะกับเอาขวดน้ำไว้ข้างล่าง
แล้วดูว่าน้ำจะไหลออกเป็นอย่างไร

     

     จากการทำกิจกรรมสรุปได้คือ : น้ำจะไหลแรงเมื่อขวดอยู่ที่สูง และเมื่อนำขวดมาไว้ข้างล่าง
น้ำก็จะไหลเบาลง เป็นเพราะว่ายิ่งสูงน้ำยิ่งไหลออกดี



 จากนั้นอาจารย์ก็ได้สอนในการเขียนแผนการสอนต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยอธิบายอย่างละเอียด
เพื่อที่นักศึกษาจะได้เข้าใจ และเมื่อมีคำถามก็ถามอาจารย์ได้



เทคนิคการสอน

     อาจารย์ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อที่จะได้มีประสบการณ์


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     สามารถนำเทคนิคต่างๆในการทดลองไปสอนเด็กปฐมวัยในเรื่องวิทยาศาสตร์ได้


ประเมินตนเอง

     วันนี้แต่งกายเรียบร้อย และตั้งใจทำกิจกรรม


ประเมินเพื่อน

     เพื่อนๆช่วยกันทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน


ประเมินอาจารย์

     อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกับนักศึกษา






วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บทความ

สรุปบทความ
(Article)



สอนลูกเรื่องไฟฉาย (Teaching Children about Flashlight)

ผู้เขียน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช


     การสอนลูกเรื่องไฟฉาย(Teaching Children about Flashlight) หมายถึงการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เครื่องทำความสว่างประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญคือ จานฉายรูปโค้งสำหรับสะท้อนแสงและหลอดไฟฟ้า ซึ่งบรรจุอยู่ในเรือนกรอบกับสิ่งให้พลังงานที่ก่อให้เกิดแสงสว่าง และหลอดไฟซึ่งบรรจุอยู่ในกรอบกับสิ่งให้พลังงาน ก่อให้เกิดแสงสว่าง มีหลายชนิด ชนิดที่ถือติดตัวไปมาได้มักทำในรูปกระบอก ทั้งนี้เพราะการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็น เรื่องจำเป็นในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เจริญเติบโตเป็นเด็กที่มีคุณภาพ กล่าวคือเป็นผู้ที่พัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและสติปัญญาได้อย่างเหมาะสมตามวัย ในยุคปัจจุบันสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะความก้าวหน้าทางวิทยาการด้านเทคโนโลยี มีผลให้เกิดมีเครื่องใช้ที่จำเป็นและอำนวยความสะดวกสบายให้คนเรา ดังนั้นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และวิธีใช้เครื่องเทคโนโลยีบางชนิดให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องจำเป็น ดังเช่น ไฟฉาย ที่คนเราสร้างสรรค์ขึ้นมาเป็นเครื่องใช้ที่ให้แสงสว่างซึ่งเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการนำเรื่องไฟฉายมาจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

เกร็ดความรู้
     - ไฟฉายเป็นแหล่งกำเนิดแสงที่มนุษย์สร้างขึ้นชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับ หลอดไฟ และเทียนไข     - เมื่อแสงจากไฟฉายกระทบวัตถุใดๆ แสงจะสะท้อนจากวัตถุมาเข้าตาเรา เราจึงเห็นวัตถุเหล่านั้นได้