วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิจัย

สรุปวิจัย


ชื่อวิจัย ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ชื่อผู้วิจัย ยุพาภรณ์ ชูสาย

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

นิยามศัพท์เฉพาะ 

     - การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ หมายถึง วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เรื่องสีจากพืช ผักและผลไม้ ที่อยู่รอบตัวเด็กหรือในชุมชน เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสแสดงความสามารถในการปฏิบัติและฝึกฝนกระบวนความคิด ค้นคว้า หาความรู้ และแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการทดลองสีจากธรรมชาติ

     - ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง การแสดงความสามารถของเด็กปฐมวัยในด้านการสังเกต การจำแนกเปรียบเทียบ การหามิติสัมพันธ์ และการลงความเห็นข้อมูล

ตัวแปรต้น กิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ

ตัวแปรตาม ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ตัวอย่างแผนการสอน

     หน่วย การเกิดสีจากดอกไม้

ชื่อกิจกรรม การขยี้,การขยำ

จุดประสงค์ 1. ส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
            ทักษะการสังเกต : ส่วนต่างๆของดอกไม้
            ทักษะการจำแนกประเภท : แยกประเภทของดอกไม้
            ทักษะการลงความเห็นข้อมูล : สรุปผลการทดลองได้
            ทักษะการหามิติสัมพันธ์ : บอกรูปร่าง รูปทรง และขนาดของดอกไม้
                                ชนิดต่างๆได้
         2. ส่งเสริมให้เด็กเล่าประสบการณ์เดิมของตนเอง
         
         3. แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการเรียนรู้
      
         4. เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ตรง

ขั้นนำ ครูนำดอกไม้สีต่างๆใส่ตะกร้า (ดอกกุหลาบสีแดง,ดอกกุหลาบสีชมพู,
ดอกอัญชัญ,ดอกชบาสีต่างๆ,ดอกดาวเรือง) มาให้เด็กดูและให้เด็กแต่ละคนหยิบดอกไม้คนละ 1 ดอก จากนั้นให้เด็กแยกกลุ่มตามสีของดอกไม้ที่เด็กเลือก

ขั้นสอน 1. ให้เด็กนั่งเป็นกลุ่มตามสีและประเภทของดอกไม้
      
       2. ครูถามเด็กแต่ละกลุ่มดังนี้ -เด็กๆรู้จักดอกไม้ที่ตนเลือกหรือไม่ -ดอกไม้มีสีอะไรบ้าง มีลักษณะอย่างไร -เด็กๆทดลองขยี้ดอกไม้ดูว่าเกิดอะไรขึ้น เด็กๆอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น

       3. ครูแจกกระดาษ A4 ให้เด็กคนละ 1 แผ่น และเด็กๆทดลองนำกลีบดอกกุหลาบ ดอกชบา ดอกอัญชัญ ดอกดาวเรือง มาขยี้แล้วนำไปทาบนกระดาษ และให้เด็กๆสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้นบนกระดาษ ครูกระตุ้นให้เด็กทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมและตอบคำถามร่วมกัน

       4. ครูและเด็กช่วยกันคิดว่า นอกจากการขยี้แล้ว เราจะทำอย่างไรให้ได้สีจากดอกไม้ได้อีกบ้าง ให้เด็กๆช่วยกันตอบ และให้ลองขยำ และลองให้เด็กๆทดลองให้เกิดสีตามที่เด็กช่วยกันคิด
  
       5. เมื่อเด็กๆทำกิจกรรมเสร็จแล้วให้แต่ละกลุ่มเก็บวัสดุอุปกรณ์ทุกอย่างเข้าที่

ขั้นสรุป 1. ครูให้เด็กๆออกมาอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นบนกระดาษของตนเองเกี่ยวกับสีที่ได้ให้เพื่อนๆฟังโดยตอบคำถามว่าสีที่ได้มาจากอะไร และใช้วิธีการอย่างไร

       2. เด็กและครูสรุปถึงสิ่งที่ได้ทดลองและให้เด็กแต่ละคนกลับไปคิดหาวิธีใหม่ที่ทำให้ได้สีจากดอกไม้ โดยไม่ซ้ำกับวิธีการเดิม เป็นการบ้านและให้เด็กนำดอกไม้มาในวันพรุ่งนี้คนละ 1 ดอก เพื่อทดลองการทำให้ได้สีจากดอกไม้ในวิธีอื่นๆ

สื่อ/อุปกรณ์ 1. กระดาษ A4  2. ดอกกุหลาบสีแดง  3. ดอกกุหลาบสีชมพู
4. ดอกอัญชัญ  5.ดอกชบาสีต่างๆ  6.ดอกดาวเรือง

การประเมินผล 1. ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมในขั้นดำเนินกิจกรรมจากการลงมือปฏิบัติกิจกรรมการ
                เรียนรู้

             2. สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม

             3. สังเกตการตอบคำถาม การสรุปผลการทดลองตามความเข้าใจของตนเอง
   


บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

การบันทึกอนุทิน


Science Experiences Management for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran
2 December 2014 ครั้งที่ 16 Group 103
Time 08:30 - 12:20




กิจกรรมที่ทำวันนี้ (Knowledge)

ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันทำสารสัมพันธ์บ้านโรงเรียนตามหน่วยของกลุ่ม
กลุ่มของฉัน หน่วย ไข่





เทคนิคการสอน

     วันนี้อาจารย์ใช้คำถามปลายเปิดเยอะ อาจารย์อยากให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม   เพื่อที่จะได้นำไปสอนเด็กได้อย่างถูกต้อง และจะได้มีประสบการณ์โดยตรง


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้ในอนาคต และสามารถประสานงานระหว่างที่บ้านกับโรงเรียนได้อย่างถูกต้อง

     
ประเมินตนเอง

     วันนี้ฉันแต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม


ประเมินเพื่อน

     เพื่อนแต่ละกลุ่มช่วยกันทำงานอย่างตั้งใจ แต่มีบางคนพูดคุยกันจนเสียงดัง


ประเมินอาจารย์

     อาจารย์ปล่อยให้นักศึกษาทำเอง ทำให้นักศึกษารู้จักการแก้ปัญหาได้ และให้คำแนะนำอย่างถูกต้องทำให้นักศึกษาเข้าใจยิ่งขึ้น






บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

การบันทึกอนุทิน


Science Experiences Management for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran
25 November 2014 ครั้งที่ 15 Group 103
Time 08:30 - 12:20




กิจกรรมที่ทำวันนี้ (Knowledge)

     วันนี้อาจารย์เริ่มที่ถามว่าแผนของแต่ละกลุ่มมีปัญหาอะไร ตรงไหนบ้าง แล้วก็ให้คำแนะนำ
สำหรับกลุ่มที่ยังมีข้อแก้ไข

     จากนั้นก็ได้ให้นักศึกษาออกมานำเสนอของเล่นของตนเองว่าจัดอยู่ในกลุ่มไหน สามารถจัดหมวดหมู่ได้ดังนี้



แล้วให้เพื่อนที่ยังไม่ได้นำเสนอบทความให้ออกไปพูดวิจัยและโทรทัศน์ครู ดังนี้




กิจกรรมทำหวานเย็น


สรุปกิจกรรมหวานเย็น
    
     การเปลี่ยนแปลงของน้ำหวาน จากของเหลวกลายเป็นของแข็ง โดยการใส่น้ำแข็งและเกลือลงไปแล้ว การที่เราใส่เกลือลงไปทำให้น้ำที่อยู่ในถุงด้านล่างมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ได้โดยไม่กลายเป็นน้ำแข็ง และนั่นก็ก็เพียงพอที่จะทำให้เราสามารถที่จะเขย่าถังเพื่อส่งความเย็นไปสู่น้ำที่อยู่ในถุงให้แข็งได้นั่นเอง



เทคนิคการสอน

     อาจารย์อยากให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม เพื่อที่จะได้นำไปสอนเด็กได้อย่างถูกต้อง
และจะได้มีประสบการณ์โดยตรง


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้ในอนาคต และรู้วิธีการทำหวานเย็นที่ถูก
วิธีและถูกสุขลักษณะ

     
ประเมินตนเอง

     วันนี้ฉันแต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม


ประเมินเพื่อน

     เพื่อนออกไปจำแนกของเล่นตนเองอย่างตั้งใจและทำหวานเย็นกันอย่างสนุกสนาน


ประเมินอาจารย์

     อาจารย์ปล่อยให้นักศึกษาทำเอง ทำให้นักศึกษารู้จักการแก้ปัญหาได้ และให้คำแนะนำอย่างถูกต้องทำให้นักศึกษาเข้าใจยิ่งขึ้น