วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

การบันทึกอนุทิน


Science Experiences Management for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran
28 october 2014 ครั้งที่ 11 Group 103
Time 08:30-12:20




กิจกรรมที่ทำวันนี้ (Knowledge)


กิจกรรมที่ 1

     อาจารย์ทดลองให้ดูโดยมีอุปกรณ์ ดังนี้ได้แก่ เทียนไข (Taper) ไม้ขีดไฟ (Match) แก้ว (Glass) และมีขั้นตอนดังต่อไปนี้


     จากการทำกิจกรรมสรุปได้ว่า : เมื่อนำแก้วมาครอบเทียนไขที่ติดไฟอยู่ เทียนไขค่อยๆดับลง 
เป็นเพราะว่าอากาศภายในแก้วทำให้เปลวเทียนดับ


กิจกรรมที่ 2

     อาจารย์แจกกระดาษ (Paper) มาให้แล้วพับครึ่งดังภาพ แล้วก็ฉีกออกให้เหมือนดอกไม้
แล้วก็พับเข้าหากัน จากนั้นก็ให้นำไปลอยน้ำ แล้วสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น


     จากการทำกิจกรรมสรุปได้ว่า : กระดาษที่พับไว้เมื่อลอยน้ำจะค่อยๆบานออกมาทีละกลีบ
เป็นเพราะว่าเมื่อกระดาษเปียกน้ำก็จะค่อยๆคลายออก


กิจกรรมที่ 3 

     อาจารย์ให้ช่วยกันนวดดินน้ำมัน (Clay)ให้นิ่มแล้วแบ่งกันคนละก้อนจากนั้นให้เอามาใส่ลงในน้ำดังรูป




     จากการทำกิจกรรมสรุปได้ว่า : เมื่อปล่อยดินน้ำมันลงน้ำดินน้ำมันก็จมน้ำทันที เป็นเพราะ
ดินน้ำมันมีมวลสารจึงทำให้จมน้ำ


กิจกรรมที่ 4 

     อาจารย์ให้นักศึกษาลองทำด้วยตนเอง โดยที่ให้เอาขวดน้ำไว้บนโต๊ะกับเอาขวดน้ำไว้ข้างล่าง
แล้วดูว่าน้ำจะไหลออกเป็นอย่างไร

     

     จากการทำกิจกรรมสรุปได้คือ : น้ำจะไหลแรงเมื่อขวดอยู่ที่สูง และเมื่อนำขวดมาไว้ข้างล่าง
น้ำก็จะไหลเบาลง เป็นเพราะว่ายิ่งสูงน้ำยิ่งไหลออกดี



 จากนั้นอาจารย์ก็ได้สอนในการเขียนแผนการสอนต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยอธิบายอย่างละเอียด
เพื่อที่นักศึกษาจะได้เข้าใจ และเมื่อมีคำถามก็ถามอาจารย์ได้



เทคนิคการสอน

     อาจารย์ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อที่จะได้มีประสบการณ์


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     สามารถนำเทคนิคต่างๆในการทดลองไปสอนเด็กปฐมวัยในเรื่องวิทยาศาสตร์ได้


ประเมินตนเอง

     วันนี้แต่งกายเรียบร้อย และตั้งใจทำกิจกรรม


ประเมินเพื่อน

     เพื่อนๆช่วยกันทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน


ประเมินอาจารย์

     อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกับนักศึกษา






วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บทความ

สรุปบทความ
(Article)



สอนลูกเรื่องไฟฉาย (Teaching Children about Flashlight)

ผู้เขียน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช


     การสอนลูกเรื่องไฟฉาย(Teaching Children about Flashlight) หมายถึงการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เครื่องทำความสว่างประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญคือ จานฉายรูปโค้งสำหรับสะท้อนแสงและหลอดไฟฟ้า ซึ่งบรรจุอยู่ในเรือนกรอบกับสิ่งให้พลังงานที่ก่อให้เกิดแสงสว่าง และหลอดไฟซึ่งบรรจุอยู่ในกรอบกับสิ่งให้พลังงาน ก่อให้เกิดแสงสว่าง มีหลายชนิด ชนิดที่ถือติดตัวไปมาได้มักทำในรูปกระบอก ทั้งนี้เพราะการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็น เรื่องจำเป็นในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เจริญเติบโตเป็นเด็กที่มีคุณภาพ กล่าวคือเป็นผู้ที่พัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและสติปัญญาได้อย่างเหมาะสมตามวัย ในยุคปัจจุบันสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะความก้าวหน้าทางวิทยาการด้านเทคโนโลยี มีผลให้เกิดมีเครื่องใช้ที่จำเป็นและอำนวยความสะดวกสบายให้คนเรา ดังนั้นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และวิธีใช้เครื่องเทคโนโลยีบางชนิดให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องจำเป็น ดังเช่น ไฟฉาย ที่คนเราสร้างสรรค์ขึ้นมาเป็นเครื่องใช้ที่ให้แสงสว่างซึ่งเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการนำเรื่องไฟฉายมาจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

เกร็ดความรู้
     - ไฟฉายเป็นแหล่งกำเนิดแสงที่มนุษย์สร้างขึ้นชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับ หลอดไฟ และเทียนไข     - เมื่อแสงจากไฟฉายกระทบวัตถุใดๆ แสงจะสะท้อนจากวัตถุมาเข้าตาเรา เราจึงเห็นวัตถุเหล่านั้นได้





บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

การบันทึกอนุทิน


Science Experiences Management for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran
21 october 2014 ครั้งที่ 10 Group 103
Time 08:30-12:20





กิจกรรมที่ทำวันนี้ (Knowledge)



     วันนี้เริ่มด้วยอาจารย์ให้เพื่อนที่ไม่ได้นำของเล่นมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วออกไปนำเสนอ
หน้าชั้นเรียน เมื่อทุกคนนำเสนอเสร็จ อาจารย์ก็สอนเรื่องการเขียนแผนต่อตามหัวข้อดังนี้

1. วัตถุประสงค์ 
2. สาระที่ควรเรียนรู้
3. เนื้อหา



4. แนวคิด
5. ประสบการณ์สำคัญ ดูจากหนังสือหลักสูตร
   
  • กรอบพัฒนาและกิจกรรม


  • web (บูรณาการทักษะรายวิชา)

6. แผนที่เครือข่ายใยแมงมุม (web กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม)
7. แผนของแต่ละวัน
   ซึ่งกลุ่มของฉันเขียนแผนแต่ละวันเป็นดังนี้
  • วันที่ 1 ชนิดของไข่ (Type)
  • วันที่ 2 ลักษณะของไข่ (Characteristics)
  • วันที่ 3 ส่วนประกอบของไข่ (Components)
  • วันที่ 4 ประโยชน์ของไข่ (Benefits)
  • วันที่ 5 การเก็บรักษา (Storage)


     จากนั้นอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มคิดของเล่นจากไอเดียของเพื่อนที่ออกไปนำเสนอมา

ประยุกต์ให้เข้ากับหน่วยของกลุ่มตนเอง กลุ่มของฉัน หน่วยไข่ จึงคิดของเล่นคือ 
"ไข่น้อยลอยน้ำ" ประยุกต์จากตุ๊กตาโยกเยกหรือตุ๊กตาล้มลุก




เทคนิคการสอน

     อาจารย์ใช้วิธีระดมความคิดเพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
เพื่อฝึกการคิดในการตอบคำถามและการแก้ไขปัญหา


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     สามารถนำของเล่นที่เพื่อนออกไปนำเสนอมาประยุกต์ใช้ทำของเล่นเพื่อใช้ในหน่วย
ที่เราจะสอนได้


ประเมินตนเอง

     วันนี้แต่งกายเรียบร้อย และเข้าเรียนตรงเวลา


ประเมินเพื่อน

     เพื่อนๆช่วยกันตอบคำถามอาจารย์


ประเมินอาจารย์

     อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา






วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

การบันทึกอนุทิน


Science Experiences Management for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran
14 october 2014 ครั้งที่ 9 Group 103
Time 08:30-12:20





กิจกรรมที่ทำวันนี้



     วันนี้เริ่มด้วยการออกไปนำเสนอของเล่นของแต่ละคน ซึ่งของเล่นของดิฉัน คือ

"โทรศัพท์จากแก้ว"



อุปกรณ์ Equipment

1. แก้ว (glass)
2. ไหมพรม (yarn)
3. กาว (glue)
4. ไม้จิ้มฟัน (toothpick)
5. กรรไกร (scissors)




วิธีทำ

1. นำแก้วมาเจาะรูที่ก้นแก้ว 1 รู
2. สอดไหมพรมยาวประมาณ 2-3 เมตร เข้าไปที่ก้นแก้ว
3. ผูกไหมพรมที่ตรงกลางของไม้จิ้มฟันทั้ง 2 อัน ให้เชื่อมกันโดยให้ไม้จิ้มฟันอยู่ในแก้ว
4. ตกแต่งให้สวยงาม



     ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์คือ เสียงจะเดินทางได้ต้องอาศัยตัวกลาง ซึ่งปกติการที่มนุษย์
สื่อสาร
กันธรรมดาอากาศที่อยู่ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารนั้นจะเปรียบเสมือนเป็นตัวกลาง
แต่สำหรับเมื่อเรา
พูดในแก้ว จะเปรียบเสมือนเป็นอากาศปิด เพราะฉะนั้นเสียงจึงต้องใช้ตัวกลาง
ในที่นี้จะใช้ไหมพรม
ที่อยู่ระหว่างแก้วทั้งสอง จีงทำให้ได้ยิน แต่ถ้าเมื่อเราไปรบกวนตัวกลาง
โดยเอามือจับไว้ 
เป็นผลให้เราไม่ได้ยินเสียง

     การนำไปใช้ : การสื่อสารทั่วไปโดยใช้โทรศัพท์ซึ่งโทรศัพท์นี้อาศัยคลื่นไฟฟ้าแทน
ตัวกลางอากาศ




นี่คือของเล่นของเพื่อนๆ





จากนั้นอาจารย์ก็พูดคุยเรื่องแผนการสอน ซึ่งกลุ่มดิฉัน ทำหน่วย "ไข่" แก้ไขแล้วดังนี้


แล้วอาจารย์ก็ให้กลับไปคิดสื่อที่ใช้สอนในหน่วยไข่มาอาทิตย์หน้า




เทคนิคการสอน

     อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาอธิบายก่อน แล้วจึงยกตัวอย่างมาประกอบเพื่อให้เข้าใจ
มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     สามารถนำความรู้ที่ได้จากที่เพื่อนออกไปนำเสนอสื่อ ทำให้ได้ไอเดียในการผลิตสื่อเพื่อ
ไปใช้กับเด็กได้อย่างหลากหลาย และสามารถแก้ไขสื่อของตนได้อย่างเหมาะสม


ประเมินตนเอง

     ตั้งใจออกไปนำเสนอสื่อ เตรียมตัวมาดี


ประเมินเพื่อน

     มีเพื่อนบางคนไม่เอาสื่อมานำเสนอ


ประเมินอาจารย์

     อาจารย์อธิบายได้อย่างละเอียด






บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

การบันทึกอนุทิน


Science Experiences Management for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran
7 october 2014 ครั้งที่ 8 Group 103
Time 08:30-12:20



วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนอยู่ในช่วงสอบกลางภาค


วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

การบันทึกอนุทิน


Science Experiences Management for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran
30 september 2014 ครั้งที่ 7 Group 103
Time 08:30-12:20




กิจกรรมที่ทำในวันนี้


งานชิ้นที่ 1 

     วันนี้อาจารย์แจก Equipment จากสิ่งที่เหลือใช้ ได้แก่ 1.Paper 2.Scissors
3. Paperclip แล้วทำดังรูป




     จากนั้นทุกคนได้ก็ออกไปเล่นหน้าห้อง โดยที่อาจารย์ไม่บอกว่าเล่นอย่างไร



เมื่อเพื่อนออกไปโยนก็ทำให้รู้ว่า
 - สังเกตด้วยตา
 - วิธีการโยน
 - การตกที่ไม่เหมือนกัน
 - สามารถนำไปต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ คือ ให้เด็กระบายสี ตกแต่ง
 - เด็กลงมือทำเอง ตามแนว Constructivist = เน้นผู้เรียนเป็นหลัก



งานชิ้นที่ 2 

     อาจารย์ให้นำแกนทิชชู่มาเอง อุปกรณ์มีดังนี้ 1. Basin 2. Scissors 3. Rope
4. Paper 5. Color แล้วทำดังรูป








จากนั้นเพื่อนก็ออกไปสาธิตการเล่นให้ดู



การเคลื่อนไหวเป็นเพราะอะไร ? แรงผลัก แรงดัน



จากนั้นเพื่อนก็ออกไปนำเสนอ Article ดังนี้

  • Miss Jiraporn Noulchom
    เรื่อง สะกิดให้ลูกคิดแบบวิทยาศาสตร์
         - ขั้นที่ 1 Engage (การมีส่วนร่วม)
         - ขั้นที่ 2 Explore (สำรวจ)
         - ขั้นที่ 3 Explain (อธิบาย)
         - ขั้นที่ 4 Elaborate (รายละเอียด)
         - ขั้นที่ 5 Evaluate (ประเมิน)
  • Miss Chanida Bunnaco
    เรื่อง เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์
         - ส่งเสริมและฝึกให้เด็กรู้จัดสังเกต
         - สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศาสตร์เป็นของเด็กทุกคน
         - บอกวิธีที่ผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์
         - ปลูกฝังให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์จะนำมาซึ่งความสนุกสนานและความพอใจ
         - สร้างความมั่นใจในตนเองให้แก่เด็ก
  • Miss Anna Chawsuan
    เรื่อง สนุกสนานเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่องเป็ดและไก่
         - ขั้นตอนแรก คือ ขั้นนำ
         - ขั้นตอนที่สอง คือ ขั้นสอน
         - ขั้นตอยสุดท้าย คือ ขั้นสรุป
  • Miss Suangkamon Sutawee
    เรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่?
         เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการครบถ้วนทุกด้าน
  • Miss Natcharita Suwanmanee
    เรื่อง ส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก


เทคนิคการสอน

     อาจารย์มีสื่อหลายอย่างมาให้นักศึกษาลองทำ


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     สามารถนำไปใช้สอนเด็กปฐมวัยได้คือ ให้เด็กได้เล่นเอง ได้คิดการเล่น ลงมือปฏิบัติเอง


ประเมินตนเอง

     วันนี้ทำสื่ออย่างสนุกสนาน


ประเมินเพื่อน

     เพื่อนๆตั้งใจทำสื่อ


ประเมินอาจารย์

     อาจารย์สอนทำสื่ออย่างสนุกสนาน


เพิ่มเติม

     เขียนแผน 5 วัน งานกลุ่ม